ในหลวงออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
ทรงย้ำเรื่อง สามัคคี อีกครั้งในช่วงนี้
ในหลวงมีพระราชดำรัสเรื่อง ความสามัคคี ที่คนไทยทุกคนจำได้คือ
“รู้รักสามัคคี” ในช่วงพฤษภาคม ปี 2535 ซึ่งเป็นช่วงที่สังคมแตกแยก เกิดความรุนแรง
ช่วงปีที่ผ่านมา มีหลายคนตีความว่า สามัคคีคือสมานฉันท์
ความขัดแย้งทุกอย่างตอนนี้ จะแก้ด้วยความสมานฉันท์
ความเห็นผมว่า ไม่ใช่
หากความขัดแย้งในสังคมถูกแก้ได้ด้วยแค่คำว่าสมานฉันท์แล้ว
สังคมเราจะกลายเป็นสังคมสีเทาไปในทันที
เนื่องจากสีขาว ต้องผสมกับสีดำ
ความดี จำต้องผสมกับความชั่ว
ซึ่งผมมองว่า นี่ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาระยะยาว และยั่งยืนเลย
เพราะการแก้ปัญหาแบบ สมานฉันท์ความชั่ว กับความดีนั้น
รังจะทำให้สังคมตกต่ำลงไป กลายเป็นสีเทาเข้มขึ้นๆ เรื่อยๆ
จนกลายเป็นสีดำ
ในความเห็นผม ความสามัคคี ที่จะนำมาแก้ความขัดแย้งในสถานการณ์ปัจจุบันน่าจะเป็น
ความเข้าใจ มากกว่าสมานฉันท์
ผมได้ยินได้ฟัง คนชั้นกลางในตัวเมือง หลายต่อหลายคน ชอบสรุปว่า
พวกคนระดับรากหญ้าเป็นคนโง่ โดนหลอกง่าย ทำให้ชื่นชอบ และเสพติดกับนโยบายประชานิยม
รวมทั้งเพิกเฉยต่อผลกระทบร้ายแรงของการซื้อเสียงเลือกตั้ง
บางคนสรุปอีกว่า ประเทศเราไม่เจริญเพราะรากหญ้า
นำไปสู่ความคิดสุดโต่งของบางคน เช่น การตัดสิทธิ์เลือกตั้งคนพวกนี้ให้หมด หรือ แบ่งแยกประเทศ หรือ Killing field เลยก็มี
ซึ่งเป็นเรื่องไร้เพ้อเจ้อไร้สาระ
ความเข้าใจ ที่มา และเหตุปัจจัยที่ทำให้เขาคิด และกระทำแบบนั้น
อาจเป็นวิธีการลดความขัดแย้งได้
พวกเขาแร้นแค้น รัฐบาลขาดการเหลียวแลในปัญหาเฉพาะหน้ามานาน ปัญหาชนชั้นที่ห่างขึ้นเรื่อยๆ และปัญหาการศึกษา ฯลฯ
ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้เขามีสิทธิที่จะมองแค่ประโยชน์เฉพาะหน้า ไม่มองถึงอนาคตอันยาวไกลทั้งสิ้น
ผมเชื่อว่า เมื่อเราเข้าใจที่มาที่ไปแล้ว สังคมเราจะลดความขัดแย้งได้ และยังนำไปสู่การแก้ปัญหาได้ในที่สุด
ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเคยกล่าวว่า
วิธีที่แสดงความจงรักภักดีที่ดีที่สุดคือ
การทำงานที่ในหลวงทรงทำ
เพื่อให้ในหลวงไม่ต้องเหนื่อยอีกต่อไป
ผมเชื่อแบบนั้น
"ขอพระองค์ทรงพระเจริญ"
คุณ "สิทธัตถะ เอมเมอรัล" TGT3
11 years ago
2 comments:
สำหรับ
คนบางเรา
งานหลักคือการหาเรื่องชาวบ้าน
งานอดิเรกคือหาเรื่องกันเอง
แก้ยากครับ แก้ยาก
เฮ้อ
ขอตอนรับการกลับมาครับพี่
แหม่นึกว่าจะเลิกเขียนไปซะแร้น
Post a Comment