Tuesday, June 14, 2011

เหตุผลคืออะไร" vs "ของใคร"

วันนี้ผมเข้าร่วมชี้แจงงบประมาณด้านงานก่อสร้างกับสำนักงบฯ
ชี้แจงถึงเหตุผลว่าโครงการในปีนี้ มีความจำเป็นอย่างไรกับองค์กร
โดนซักถามมากมาย
ตอบก็ตอบแบบมั่นใจเพราะคิดมาครบบ้าง แถ+กะล่อนบ้าง
เอาตัวรอดไปได้อีกครั้ง

ตอนหลังประชุมมาคุยกันนอกรอบ
ผมถามตรงๆ กับเจ้าหน้าที่สำนักงบฯ ว่า
จะถามเอาเหตุผลไปทำไม ในเมื่อสุดท้าย โครงการที่ไม่มีเหตุผล แต่วิ่งเต้นเก่งๆ ก็ได้งบไปอยู่ดี?

เขาก็บอกตรงๆ ว่า มันก็เป็นอย่างนี้แหล่ะ เราระดับปฏิบัติการก็ทำได้เท่านี้
เพราะสุดท้ายการตัดสินใจไม่ได้อยู่ที่ "เหตุผลคืออะไร?"
แต่ตัดสินที่ "โครงการนี้ของใคร?"

มันเลยมีโครงการที่ไม่มีเหตุผล ไม่มีความจำเป็น เบียดบังงบประมาณชาติเอาไปเผาผลาญเกือบทั้งหมด
โครงการที่มีความจำเป็น ต้องหาเหตุผล เรียบเรียงข้อมูล นำเสนอกันไม่น้อยกว่า 5 รอบ กว่าจะไปจ่อให้นักการเมืองตัดสินใจตัดออก
ส่วนอีกหลายโครงการ ตั้งเรื่องมาเพื่อจะแดก เสนอ เห็นชอบ อนุมัติ อย่างรวดเร็ว

เมื่อวานเพิ่งคุยกับพี่คนหนึ่ง เขาเล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ที่เคยถือกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ให้นักการเมือง
ภายในบรรจุเงินสดๆ แบงค์พัน เขาประมาณว่าน่าจะหนักประมาณ 30 กิโลกรัม (ซึ่งเท่ากับ 30 ล้านบาท)

หากประเทศเรายังเป็นกันอย่างนี้ต่อไป
มันไม่สิ้นหวังที่จะเจริญได้อย่างไรหนอ

Monday, April 04, 2011

โชคดีที่เกิดที่นี่

วันหนึ่ง ผมและภรรยาได้คุยกับคนรับใช้ชาวพม่าชื่อปาน ที่ทำงานที่บ้านมาพักใหญ่ๆ
ปานบอกว่า อายุ 29 แล้ว ปานเคยทำงานหาเงินแถวชายแดนไทยตรงด่านเจดีย์สามองค์
ปานมีชื่อขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานต่างด้าวในบัญชีบ้านแถวอำเภอไทรโยค แต่หลบมาทำงานแบบผิดกฎหมายในกรุงเทพ
ปานส่งเงินให้ที่บ้านเดือนละหลายพันบาท ซึ่งการส่งเงินไปในพม่า จำเป็นต้องผ่านนายหน้าซึ่งคิดค่าส่งร้อยละ 30 แม้แต่โทรศัพท์ ก็โดนคิดเงินเป็นนาที นาทีละสามร้อยบาท ต่อติด ไม่ติด ก็เสียตังค์ก่อน
ปานบอกว่ามีพี่ชายหลายคนที่บ้าน แต่หนีมาทำงานเมืองไทยหมด เพราะพม่ามักจะเกณฑ์แรงงานไปทำงานให้รัฐจากทุกๆ ครัวเรือน โดยให้งานมีตั้งแต่ ขุดถนน จนถึงขนลูกปืนรบกับกระเหรี่ยง ซึ่งเป็นงานหนัก และเสี่ยงอันตราย
เมื่อเจ็บป่วย โรงพยาบาลในพม่า ที่พอจะรักษาหายมีแต่เอกชน ซึ่งเก็บค่ารักษาแพงมาก เช่นเดียวกับโรงเรียนที่ค่าเทอมมีราคาแพงมาก
ปานไม่เคยเรียนหนังสือ อ่านหนังสือไม่ออกสักตัว บวกลบเลขยังทำไม่ค่อยได้เลย
ตอนนี้ปานมีลูกสาวอายุ 14 เรียนอยู่โรงเรียนเอกชนที่ย่างกุ้ง สามีป่วยตายตั้งแต่ลูกยังไม่ขวบ ที่ต้องส่งเรียนโรงเรียนเอกชน เพราะว่าโรงเรียนรัฐมีไม่พอ และคุณภาพไม่ดี
ทำให้ปัจจัยพื้นฐานเรื่องสุขภาพและการศึกษาในพม่า เป็นสิ่งจับต้องได้ยาก ไม่ต้องพูดถึงอิสรภาพ และโอกาส

เมื่อฟังเรื่องราวทั้งหมด ก็รู้สึกว่า
เราโชคดีมากที่เกิดมาในประเทศที่อย่างน้อยก็มีอิสรภาพในการหาความสุข ยังมีโอกาสในการขวนขวายเรียนรู้
ไม่ต้องสาธยายความดีของประเทศเราต่อนะครับ
แต่แค่เกิดผิดประเทศ ชีวิตก็ต่างกันราวฟ้ากับเหว

กับคนที่ก่นด่าประเทศชาติเรา ว่าไม่สนับสนุนโน่นนี่
มาช่วยกันทำคนละไม้ละมือก่อนจะเรียกร้องดีกว่า
ก่อนเราจะกลายเป็นพม่าไป

สักวันหนึ่งถ้าเรายังเป็นแบบนี้กันอยู่