Wednesday, August 16, 2006

ประเทศไทย หน้าสุดท้าย?

คุณเคยได้ยินเรื่องเกี่ยวกับประเทศอินเดียไหมครับ?
ที่ว่า
หากคุณไปอินเดีย สามวัน คุณจะเขียนหนังสือ ได้เป็นสิบๆ หน้า
หากคุณอยู่อินเดีย สามอาทิตย์ คุณจะเขียนหนังสือ ได้เป็นร้อยๆ หน้า
แต่หากคุณอยู่อินเดีย เกินสามเดือน คุณจะเขียนหนังสือไม่ได้เลยสักหน้า

ผมกลับมาประเทศไทยครบสิบวันแล้ว
ผมเริ่มรู้สึกเหมือนคนที่เคยไปอินเดีย

ประเทศไทยยังเหมือนเดิม
มีแต่มุมมองผมเท่านั้น ที่แปลกไป
มันอาจเป็นข้อสังเกต ที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อน

ผมตกตะลึงกับการเติมน้ำมัน ที่เต็มถัง ต้องใช้เงินพันกว่าบาท
และตกตะลึงยิ่งกว่า ที่ยังมีคนเร่งเครื่อง จี้ตูดกันบนถนน
ซึ่งผมไม่เข้าใจว่า ไม่รู้จะแข่งกัน เอาเงินไปจ่ายซาอุฯ ทำไมกัน

ผมงงๆ กับการวิเคราะห์ฟุตบอลพรีเมี่ยลีก อังกฤษ
ที่ผู้วิเคราะห์ และแฟนๆ
ออกความเห็นเหมือนทีมพวกนั้นเตะบอลอยู่ปากซอย
และนักเตะแต่ละคนเป็นเหมือนไอ้ปี้ดบ้านข้างๆ

ผมตกตะลึงกับทีวีบ้านเรา
ที่มันไร้สาระไม่ต่างกับ ทีวีในอเมริกา

ผมตกตะลึงกับร้านกาแฟ ที่ผุดทุกหย่อมหญ้า
ที่ผมไม่เข้าใจว่า ราคาแก้วหนึ่งๆ ไม่ต่ำกว่าห้าสิบบาท
กาแฟชงถุงเท้า ก็ยังอร่อยเหมือนเดิมนี่นา

ค่าอาหารร้านภัตตาคารดีๆ แพงขึ้นอย่างน่าตกใจ
เหมือนจะเป็นการกรอง และคัดแยก คนรายได้ปานกลาง ออกไปจากกลุ่มคนรสนิยมสูง

ผมเริ่มสับสนกับค่าครองชีพ และรายจ่ายที่จำเป็นและไม่จำเป็น
ที่แนวโน้มดูเหมือนระยะห่างจะถ่างขึ้น และกำลังขัดแย้งกับรายได้อย่างสิ้นเชิง

ผมได้ยินได้ฟังเรื่องราวของเพื่อนๆ รุ่นราวคราวเดียวกัน
กับภาระการผ่อนรถ ผ่อนบ้าน และบางคนที่วางแผนการมีลูก

ผมมีคำถามขัดแย้งขึ้นในหัว ว่า “เราจะอยู่กันยังไงนะ?”

หรือทางออกอยู่ที่ การเปิดร้านอาหาร การเปิดร้านกาแฟ หรือ แข่งกันเป็นดารานักร้องเท่านั้น

ผมได้ฟังข้อสังเกตของพี่ท่านหนึ่ง เขาสังเกตว่า
ในท่ามกลางคนรุ่นๆ ผม
การที่จะมีเงินเก็บสองแสนต่อปี หรือ มีหนี้สองแสนต่อปี
ไม่ได้ทำให้การดำรงชีวิตแตกต่างกันมากเท่าไหร่
นี่คือสัญญาณอะไรบ้างอย่าง
ในสังคมแห่งวัตถุนิยม และจะนำไปสู่ความล่มสลาย

ผมยังไม่เข้าใจนัก แต่ลองคิดตาม ก็เห็นว่า มันแปลกๆ
เพราะการจะมีหนี้สองแสน กับมีเงินเก็บสองแสนในเมืองที่ผมเคยอยู่
จะทำให้ชีวิต ลำบาก หรือ อู้ฟู้ แตกต่างกันอย่างสินเชิงแน่ๆ

นี่อาจเป็นหน้าสุดท้ายที่ผมยังสามารถตั้งข้อสังเกตในสังคมนี้ได้
ผมรู้สึกว่า ข้อสังเกตของผม กำลังลดน้อยลงไป
อาจเป็นเพราะผม เติบโตจากที่นี่ และกำลังจะ ชิน ในที่สุด

อาจเป็นเหตุผลที่
สถาปนิกชื่อดังของไทยผู้ออกแบบอาคารลักษณะไทยร่วมสมัยชื่อ โรเบิร์ต จีบุย
ผู้ประพันธ์ดนตรีไทย ที่ฟังแล้วร่วมสมัยและไพเราะ ชื่อ บรูซ แกสตัน
ผู้เชี่ยวชาญไหมไทย ที่ทำให้ไหมไทยเป็นสินค้าส่งออก ชื่อ จิม ทอมสัน

ถอนหายใจหนึ่งที ว่าแล้วก็เปิดยูบีซี โหวตวีอะไรดีนะ อาทิตย์นี้

6 comments:

Anonymous said...

เอาเป็นว่าช่วงผมกลับมาเมืองไทยครั้งล่าสุด

ราคาอาหารตามร้านดีๆ ผมว่านะ พอๆ กับราคาเฉลี่ยของอาหารต่อจานในญี่ปุ่นเลยทีเดียว

ถ้าผมจะกินแบบนี้ได้ที่ไทย ผมต้องมีรายได้ต่อเดือนใกล้เคียงกับตอนอยู่ที่ญี่ปุ่นนั่นแหละ

แต่ก็เอาน่า พอไฟฟ้าเข้าหมู่บ้าน ก็ต้องอยากมีทีวีตู้เย็นเป็นธรรมดานั่นแหละ

natsima said...

โอ..Welcome to Thailand เด้อครับคุณปริญญา

ถ้ายังอยู่ต่อแนะนำให้ลองไปหา "โรตีบอย" กินนะครับ มีสาขาอยู่ทั่วไป

ว่างๆ ก็ลองไปเดินเล่นที่ Siam Paragon

อ้อ..ตอนนี้ Central World เปิดแล้วนะครับ อยู่ที่ World Trade เก่านั่นแหละ

Gelgloog said...

ต้อนรับกลับบ้านพี่

ลองไปกินดูระ โรตี้ บอย

ไม่รู้จะเห่ออะไรไปเข้าแถวรอซื้อกันขนาดนั้น อร่อยมั๊ย ก้อดีอะ แต่ไม่ดีขนาดที่จะต้องไปต่อคิวยาวเหยียดหลายร้อยเมตรแน่ๆ

แต่ตอนนี้คิวเริ่มมลาย คนไทยนี่เห่อเป็นพักๆจริงๆ

ไม่ใช่แค่อาหารตามร้านเท่านั้น แต่ก่อนขนาดตามผับบาร์ โซดาเราว่ามันก็แพงเกินแล้ว สมัยนี้เดะ แม่เยด โซดาขวดละห้าหกสิบ แถมมาเปนขวดวันเวย์อีก อยากจะบ้าตาย แพงเกิ้น รับไม่ได้หวะ

Anonymous said...

คุณปริญญาอยู่ถึงเมื่อไหร่

พี่พลจะกลับ10กันยานี้

ถ้ายังอยู่ไปกินข้าวกัน


หลังไมค์ไปหาผมนะที่พันทิป


ชื่อเดิม ใจเดิม


ระลึกถึงอยู่เสมอ


อนารยชนโรแมนติก

Unknown said...

ยินดีด้วยที่กลับมาแล้ว

จะบอกว่า เห็นด้วยกับอินเดียที่เขียนไว้
กลับมาตอนแรกก็อมยิ้ม อยู่นานไปก็เริ่มเห็นข้อเสีย
แต่ก็อย่างว่า ไม่ใช่กับเรื่องนี้นะ
เรื่องไหนๆก็เป็น
อยู่นานๆไปก็ต้องเห็นส่วนดีส่วนเสียมากขึี้นเป็นธรรมดา

แล้วเรื่องของแพงขี้น กูก็ว่ามันมีทางเลือกมากขึ้นต่างหาก
ของแพงขึ้นไม่ใช่หมายความว่าของถูกจะมีน้อยลงนะ
ของสมราคาก็ยังมี แต่ต้องเลือก
จะทำอะไรก็ต้องเลือก
ดูทีวีก็ต้องเลือก

มีหลายอย่างที่อยากเขียน แต่แม่มาตามให้ไปขับรถเสียแล้ว
เช่น อยู่โน่น กูรู้สึก เป็นฝ่ายรับมากกว่าฝ่ายรุก
อยู่นี่ กูเป็นฝ่ายรุก

เดี๋ยวไปก่อนนะ ไว้มาคุยใหม่

Anonymous said...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ